shipping 7 ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ ที่ชิปปิ้งทั่วโลกเลือกใช้

shipping 7 ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ ที่ชิปปิ้งทั่วโลกเลือกใช้

shipping 7 ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ ที่ชิปปิ้งทั่วโลกเลือกใช้ ในปัจจุบันมีการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเทอร์ ซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางเรือ ทางรถบรรทุก ทางรถไฟ ไปจนถึงทางเครื่องบิน โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด

ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งถูกคิดค้นและจดสิทธิบัตรขึ้นในปี 1956 โดยชายชาวอเมริกัน Malcom McLean (มัลคอม แมคเลน) หรือ ‘บิดาแห่งตู้คอนเทนเนอร์’ เป็นผู้ประกอบการรถบรรทุกที่เป็นเจ้าของเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่

shippingเขาได้สังเกตเห็นว่าเดิมทีสินค้าทั้งหมดถูกบรรทุกด้วยลังไม้ การขนถ่ายของขึ้นเรือบรรทุกนั้น จะต้องขนขึ้น-ลงทีละชิ้น (Break Bulk) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช้าและไม่มีประสิทธิภาพ จึงได้ผุดไอเดียที่จะยกสินค้าจากรถบรรทุกทั้งคันขึ้นเรือโดยตรง โดยไม่ต้องขนของออกก่อน 

Malcom คิดออกแบบวิธีขนสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ และยกเลิกการโหลดสินค้าขึ้นเรือแบบเดิมทั้งหมด ต่อมาในเดือนเมษายน ปี 1956 เขาได้ปล่อยเรือคอนเทนเนอร์ลำแรกออกจากท่าเรือ Newark เมือง New Jersey มุ่งสู่เมือง Houston ได้สำเร็จ ซึ่งวิธีการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ของ Malcom นั้น มีความรวดเร็วกว่าแบบเดิมมาก และมีการจัดระเบียบที่ดี ทำให้ลดต้นทุนการขนส่งไปได้มากกว่า 90% จนได้รับขนานนามว่าเป็น ‘บุคคลแห่งศตวรรษ’ อีกทั้งช่วยให้การขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีการพัฒนาให้เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก

ปัจจุบันตู้คอนเทนเนอร์โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเดียวกัน มีโครงสร้างภายนอกที่แข็งแรง ทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม มีประตูสำหรับเปิด-ปิด 2 บาน และมีที่ล็อกประตูให้ปิดมิดชิด ภายในตู้สามารถบรรจุสินค้าวางเรียงซ้อนกันได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั้น และมีการยึดตู้แต่ละตู้ติดกัน

นอกจากนี้ยังมีการบอกรายละเอียดต่างๆ เช่น การระบุหมายเลขตู้ (Container Number) หรือน้ำหนักของสินค้าบรรจุสูงสุด เป็นต้นนอกจากจะมีลักษณะตามาตรฐานดังกล่าวแล้ว ยังมีขนาดที่หลากหลายและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสำหรับการบรรจุสินค้าแต่ละประเภท และปริมาณของสินค้าที่จัดส่ง

shipping โดยมีทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่

  1. ตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน Dry Cargoes / Dry Box – ใช้บรรจุสินค้าที่มีการบรรจุหีบห่อหรือภาชนะมาแล้ว และเป็นสินค้าทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องรักษาอุณหภูมิ มีการใช้เชือกไนลอน (Lashing) รัดหน้าตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเป็นการเสริมความแข็งแรงและป้องกันสินค้าเลื่อนหรือขยับระหว่างขนส่ง ใช้เชือกไนลอน มีทั้งขนาด 20,40 ฟุต และ 40,45 ฟุตไฮคิวบ์ โดยมักใช้สำหรับขนส่งสินค้าประเภทอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยว เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า กระเป๋า แผ่นยางพารา เป็นต้น
  2. ตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมความเย็น Refrigerator Cargoes/ Reefer – เป็นตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าที่มีเครื่องทำความเย็นอยู่ภายในและมีที่วัดอุณหภูมิเพื่อแสดงอุณหภูมิของตู้สินค้า เพื่อให้มีอุณหภูมิคงที่และเหมาะแก่การเก็บรักษาสินค้าประเภทนั้นๆ โดยสามารถลดอุณหภูมิได้ถึง -25 องศาเซลเซียสและบางชนิดสามารถปรับได้ถึง -60 องศาเซลเซียส มักใช้ขนส่งสินค้าที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ เช่น อาหารสด ผลไม้ อาหารแช่แข็ง ยาเวชภัณฑ์ สารเคมีบางชนิด เป็นต้น
  3. ตู้คอนเทนเนอร์ Open Top – เป็นตู้ที่มีขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 40 ฟุต โดยถูกออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่ เช่น เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องโม่หิน อุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งตู้ประเภทนี้จะไม่สามารถวางเรียงซ้อนกันได้ อาจทำให้มีข้อจำกัดด้านพื้นที่และมีราคาสูงกว่าตู้แบบทั่วไป
  4. คอนเทนเนอร์ Flat-Rack – ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีพื้นราบ มีขนาดกว้างและยาวตามขนาดของตู้สินค้ามาตรฐาน แต่จะเปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง ถูกออกแบบมาเพื่อใช้บรรจุสินค้าที่มีลักษณะพิเศษและไม่สามารถบรรจุด้วยตู้ขนาดมาตรฐานได้ เช่น เครื่องยนต์อุตสาหกรรม แท่งหิน หัวรถจักร เครื่องจักรประติมากรรม รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ ท่อชนิดต่างๆ เป็นต้น
  5. ตู้คอนเทนเนอร์ Garment Container – ใช้สำหรับบรรจุสินค้าที่เป็นเสื้อผ้าโดยเฉพาะ โดยจะมีราวแขวนเสื้อและถูกออกแบบพิเศษเพื่อใช้กับสินค้าจำพวก Fashion สามารถขนส่งได้โดยไม่ต้องพับหรือไม่เสียรูปทรง
  6. ตู้คอนเทนเนอร์ Ventilated – ใช้สำหรับขนส่งสินค้าทางการเกษตรโดยเฉพาะและมีช่องสำหรับระบายอากาศ
  7. ตู้คอนเทนเนอร์ Tank / ISO Tank – ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีลักษณะคล้ายถัง สำหรับบรรจุของเหลว โดยมีโครงสำหรับครอบตัวถังขนาดเท่าตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน มีความจุของถังประมาณ 11,000- 26,000 ลิตร ใช้สำหรับบรรจุสินค้าที่เป็นของเหลว รวมทั้งของเหลวที่เป็นอันตราย

ดังนั้นการเลือกใช้ตู้คอนเทนเนอร์แต่ละประเภท จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงประเภทสินค้า ปริมาณและขนาด คุณสมบัติเฉพาะ ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งควรทำประกันการขนส่งสินค้า เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงจากความเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่ง โดยเฉพาะสินค้าที่มีความเปราะบาง สินค้าที่ต้องรักษาอุณหภูมิหรือมีคุณสมบัติเฉพาะทั้งหลาย เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ควรเลือกบริษัทขนส่งที่มีความน่าเชื่อถือและมีมาตรฐาน มีความเป็นมืออาชีพ เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย อย่าง theonecargo บริษัทขนส่งมืออาชีพ ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน พร้อมเดินพิธีผ่านศุลกากรอย่างถูกกฎหมาย ลูกค้าจะได้รับเอกสารการนำเข้าและเอกสารสำหรับลดหย่อนภาษีทุกฉบับโดยเป็นชื่อของลูกค้าทั้งหมด พร้อมจัดส่งสินค้าทั่วประเทศ

cargo thailand 5เทคนิคไอเดียของการขายของออนไลน์
cargo thailand 5เทคนิคไอเดียของการขายของออนไลน์ ขายอะไรดี ขายยังไงให้ปัง ออเดอร์รัวๆ บอกเลยว่าไม่ยาก ในยุคที่หลายคนเริ่มมองหารายได้เสริม อาช...
อ่านเพิ่มเติม
dropship สินค้าจีน 20 อันดับ รายชื่อสินค้านำเข้ายอดนิยมที่คนไทยนำเข้า
dropship สินค้าจีน 20 อันดับ รายชื่อสินค้านำเข้ายอดนิยมที่คนไทยนำเข้า สินค้านำเข้า คือ สินค้าที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อขายในไทย โดยของ...
อ่านเพิ่มเติม
สินค้าจีน น่าสนใจ 8 สิ่งควรซื้อ และไม่ควรซื้อทางออนไลน์
สินค้าจีน น่าสนใจ 8 สิ่งควรซื้อ และไม่ควรซื้อทางออนไลน์ สั่งของจากจีน หนึ่งในรูปแบบการช็อปปิ้งของคนยุคปัจจุบัน ที่ช่วยลดข้อจำกัดเรื่องระยะทา...
อ่านเพิ่มเติม