shipping คืออะไร ทำไมคนถึงให้ความนิยม

shipping คืออะไร ทำไมคนถึงให้ความนิยม

shipping คืออะไร ทำไมคนถึงให้ความนิยม โลกในปัจจุบันทำให้การค้าขายสามารถทำได้ในวงกว้างมากขึ้น เพิ่มโอกาสทางการค้าและการทำกำไร ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือและเทคโนโลยีมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีขั้นตอนพิธีการทางกฎหมายและศุลกากร หลายอย่างที่ค่อนข้างซับซ้อน และมีรายละเอียดมากมายทำให้บริษัทชิปปิ้ง เข้ามามีบทบาทในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ แล้วบริษัทชิปปิ้ง คืออะไร? ทำไมคนถึงให้ความนิยม เราจะมาไขข้อสงสัยเรื่องนี้กัน

shipping คืออะไร

บริษัท shipping คืออะไร?            

บริษัทชิปปิ้งคือ บริษัทนำเข้าส่งออกที่หน้าที่เป็นตัวแทนคอยรวบรวมสินค้าในประเทศหนึ่งเพื่อนำไปส่งยังผู้สั่งซื้อในอีกประเทศหนึ่ง  

‍บริษัทชิปปิ้ง เรียกให้ถูก ควรเรียกว่า?            

คนไทยส่วนใหญ่มักจะเรียกบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการนำเข้าและส่งออกว่า “ชิปปิ้ง” ทำให้หลายครั้ง ที่มีการติดต่อบริษัทคู่ค้าที่เป็นต่างชาติจะเกิดความสับสนเล็กน้อย เพราะที่จริงแล้วคำว่า Shipping (ชิปปิ้ง) หมายถึง การขนส่งสินค้า แต่สำหรับบริษัทต่างชาติหากจะพูดถึงบริษัทนำเข้าและส่งออก เราควรใช้คำว่า “Custom Broker” หรือ“ตัวแทนออกของให้กับผู้ส่งและผู้รับสินค้า” แทน

บริษัทชิปปิ้ง ทำอะไร?            

บริษัทชิปปิ้งจะเป็นตัวแทนคอยดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากร นำเข้าและส่งออกเป็นคนกลางในการติดต่อกับกรมศุลกากร เพื่อยื่นใบขนสินค้านำเข้าและส่งออกเพื่อสำแดงรายการสินค้าและการจัดเก็บภาษี คอยช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารรวมถึงการตรวจสอบและปล่อยสินค้า ช่วยจัดการระบบขนส่งสินค้าจากประเทศต้นทางไปยังผู้รับในประเทศปลายทาง           

ยกตัวอย่างเช่น            

ธุรกิจออนไลน์ต้องการซื้อสินค้าในประเทศไทยโดยให้ส่งสินค้าไปกัมพูชา ก็สามารถติดต่อบริษัทชิปปิ้งในไทยให้ประสานงานรับสินค้าจากต้นทางในประเทศไทยแล้วไปดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกจัดทำเอกสารสำคัญแทนตัวพ่อค้าแม่ค้าเพื่อนำเข้าสินค้าและจัดการระบบขนส่งตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางในประเทศกัมพูชา โดยแม่ค้าออนไลน์เพียงแค่ติดต่อบริษัทชิปปิ้งชำระเงิน และรอสินค้าอยู่ที่บ้าน ปล่อยให้บริษัทชิปปิ้งเป็นผู้ประสานงานติดต่อฝ่ายต่างๆแทนตนเอง

ทำไมคนถึงนิยมใช้บริการของบริษัทชิปปิ้ง            

สาเหตุหลักที่หลายคนเลือกใช้บริการของบริษัทชิปปิ้ง คือ การผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกที่มีขั้นตอนและเอกสารต่างๆมากมาย

ยกตัวอย่างเช่น

  • เอกสารที่ใช้ในการนำเข้าสินค้า – ได้แก่ Commercial Invoice, Packing List, B/L(Bill of lading), D/O (Delivery Order) , เอกสารเพิ่มเติมสำหรับสินค้าบางอย่างเช่น MSDS (Material safety data sheet), อย.(อาหารและยา) , สมอ.(มาตรฐานอุตสาหกรรม), C/O Form (เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด)เป็นต้น
  • เอกสารที่ใช้ในการส่งออกสินค้า – ได้แก่ Commercial Invoice, Packing List, เอกสารเพิ่มเติมสำหรับสินค้าบางอย่างเช่น MSDS (Material safety data sheet) , อย.(อาหารและยา) , สมอ.(มาตรฐานอุตสาหกรรม) , C/O Form (เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด)เป็นต้น

ซึ่งเอกสารเหล่านี้มีรายละเอียดค่อนข้างมาก หากเราไม่มีความเข้าใจมากพอ อาจเกิดข้อผิดพลาดให้ต้องแก้ไข จนเกิดความล่าช้าสั่งสินค้าไม่ทัน จัดส่งสินค้าให้ลูกค้าตามกำหนดไม่ได้ ซึ่งบริษัทชิปปิ้งจะเป็นผู้เข้ามาช่วยดูแลในส่วนของการดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออก ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร คอยจำกัดข้อผิดพลาดที่จะก่อให้เกิดความล่าช้า รวมถึงการสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายบางอย่างแทนเราไปก่อน เช่น ค่าใช้จ่ายในการระวางเรือ ค่าเอกสารบางอย่าง เป็นต้น

บริษัทชิปปิ้งส่วนใหญ่ มักจะรับจัดการทั้งหมดตั้งแต่การเดินเอกสาร การขนส่งในประเทศต้นทาง การจัดส่งในประเทศปลายทาง โดยบริษัทชิปปิ้งอาจจะเป็นผู้ดำเนินการเอง หรือว่าจัดหาผู้ให้บริการรายอื่นมารองรับ โดยที่ลูกค้าไม่ต้องวุ่นวายจัดหาเอง ทำให้ลูกค้าสามารถนำเวลาไปทำอย่างอื่น เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าได้อย่างราบรื่น แล้วปล่อยปัญหาความยุ่งยากในการนำเข้าและส่งออก เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญอย่างบริษัทชิปปิ้งอย่าง theonecargo แทน

อัตราแลกเปลี่ยนวันนี้ ดูยังไง? สำคัญอย่างไร?
อัตราแลกเปลี่ยนวันนี้ เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนอาจดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว อัตราแลกเงินตราระหว่า...
อ่านเพิ่มเติม
cargo china เผย 3 เคล็ดลับนำเข้าสินค้าจากจีน
cargo china เผย 3 เคล็ดลับ นำเข้าสินค้าจากจีน การรับนำเข้าสินค้าจากจีนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทยในปัจจุบัน เนื่องจากจีนเป็น...
อ่านเพิ่มเติม
cargo shipping ผู้ประกอบการต้องรู้ ก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่ง
cargo shipping ผู้ประกอบการต้องรู้ ก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการ Cargo ขนส่ง การนำเข้าส่งออกสินค้าทางเรือ เป็นหนึ่งในวิธีการขนส่งที่ได้รับความน...
อ่านเพิ่มเติม