shipping 7 ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ ที่ชิปปิ้งทั่วโลกเลือกใช้

shipping 7 ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ ที่ชิปปิ้งทั่วโลกเลือกใช้

shipping 7 ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ ที่ชิปปิ้งทั่วโลกเลือกใช้ ในปัจจุบันมีการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเทอร์ ซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางเรือ ทางรถบรรทุก ทางรถไฟ ไปจนถึงทางเครื่องบิน โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด

ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งถูกคิดค้นและจดสิทธิบัตรขึ้นในปี 1956 โดยชายชาวอเมริกัน Malcom McLean (มัลคอม แมคเลน) หรือ ‘บิดาแห่งตู้คอนเทนเนอร์’ เป็นผู้ประกอบการรถบรรทุกที่เป็นเจ้าของเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่

shippingเขาได้สังเกตเห็นว่าเดิมทีสินค้าทั้งหมดถูกบรรทุกด้วยลังไม้ การขนถ่ายของขึ้นเรือบรรทุกนั้น จะต้องขนขึ้น-ลงทีละชิ้น (Break Bulk) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช้าและไม่มีประสิทธิภาพ จึงได้ผุดไอเดียที่จะยกสินค้าจากรถบรรทุกทั้งคันขึ้นเรือโดยตรง โดยไม่ต้องขนของออกก่อน 

Malcom คิดออกแบบวิธีขนสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ และยกเลิกการโหลดสินค้าขึ้นเรือแบบเดิมทั้งหมด ต่อมาในเดือนเมษายน ปี 1956 เขาได้ปล่อยเรือคอนเทนเนอร์ลำแรกออกจากท่าเรือ Newark เมือง New Jersey มุ่งสู่เมือง Houston ได้สำเร็จ ซึ่งวิธีการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ของ Malcom นั้น มีความรวดเร็วกว่าแบบเดิมมาก และมีการจัดระเบียบที่ดี ทำให้ลดต้นทุนการขนส่งไปได้มากกว่า 90% จนได้รับขนานนามว่าเป็น ‘บุคคลแห่งศตวรรษ’ อีกทั้งช่วยให้การขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีการพัฒนาให้เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก

ปัจจุบันตู้คอนเทนเนอร์โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเดียวกัน มีโครงสร้างภายนอกที่แข็งแรง ทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม มีประตูสำหรับเปิด-ปิด 2 บาน และมีที่ล็อกประตูให้ปิดมิดชิด ภายในตู้สามารถบรรจุสินค้าวางเรียงซ้อนกันได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั้น และมีการยึดตู้แต่ละตู้ติดกัน

นอกจากนี้ยังมีการบอกรายละเอียดต่างๆ เช่น การระบุหมายเลขตู้ (Container Number) หรือน้ำหนักของสินค้าบรรจุสูงสุด เป็นต้นนอกจากจะมีลักษณะตามาตรฐานดังกล่าวแล้ว ยังมีขนาดที่หลากหลายและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสำหรับการบรรจุสินค้าแต่ละประเภท และปริมาณของสินค้าที่จัดส่ง

shipping โดยมีทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่

  1. ตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน Dry Cargoes / Dry Box – ใช้บรรจุสินค้าที่มีการบรรจุหีบห่อหรือภาชนะมาแล้ว และเป็นสินค้าทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องรักษาอุณหภูมิ มีการใช้เชือกไนลอน (Lashing) รัดหน้าตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเป็นการเสริมความแข็งแรงและป้องกันสินค้าเลื่อนหรือขยับระหว่างขนส่ง ใช้เชือกไนลอน มีทั้งขนาด 20,40 ฟุต และ 40,45 ฟุตไฮคิวบ์ โดยมักใช้สำหรับขนส่งสินค้าประเภทอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยว เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า กระเป๋า แผ่นยางพารา เป็นต้น
  2. ตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมความเย็น Refrigerator Cargoes/ Reefer – เป็นตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าที่มีเครื่องทำความเย็นอยู่ภายในและมีที่วัดอุณหภูมิเพื่อแสดงอุณหภูมิของตู้สินค้า เพื่อให้มีอุณหภูมิคงที่และเหมาะแก่การเก็บรักษาสินค้าประเภทนั้นๆ โดยสามารถลดอุณหภูมิได้ถึง -25 องศาเซลเซียสและบางชนิดสามารถปรับได้ถึง -60 องศาเซลเซียส มักใช้ขนส่งสินค้าที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ เช่น อาหารสด ผลไม้ อาหารแช่แข็ง ยาเวชภัณฑ์ สารเคมีบางชนิด เป็นต้น
  3. ตู้คอนเทนเนอร์ Open Top – เป็นตู้ที่มีขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 40 ฟุต โดยถูกออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่ เช่น เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องโม่หิน อุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งตู้ประเภทนี้จะไม่สามารถวางเรียงซ้อนกันได้ อาจทำให้มีข้อจำกัดด้านพื้นที่และมีราคาสูงกว่าตู้แบบทั่วไป
  4. คอนเทนเนอร์ Flat-Rack – ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีพื้นราบ มีขนาดกว้างและยาวตามขนาดของตู้สินค้ามาตรฐาน แต่จะเปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง ถูกออกแบบมาเพื่อใช้บรรจุสินค้าที่มีลักษณะพิเศษและไม่สามารถบรรจุด้วยตู้ขนาดมาตรฐานได้ เช่น เครื่องยนต์อุตสาหกรรม แท่งหิน หัวรถจักร เครื่องจักรประติมากรรม รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ ท่อชนิดต่างๆ เป็นต้น
  5. ตู้คอนเทนเนอร์ Garment Container – ใช้สำหรับบรรจุสินค้าที่เป็นเสื้อผ้าโดยเฉพาะ โดยจะมีราวแขวนเสื้อและถูกออกแบบพิเศษเพื่อใช้กับสินค้าจำพวก Fashion สามารถขนส่งได้โดยไม่ต้องพับหรือไม่เสียรูปทรง
  6. ตู้คอนเทนเนอร์ Ventilated – ใช้สำหรับขนส่งสินค้าทางการเกษตรโดยเฉพาะและมีช่องสำหรับระบายอากาศ
  7. ตู้คอนเทนเนอร์ Tank / ISO Tank – ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีลักษณะคล้ายถัง สำหรับบรรจุของเหลว โดยมีโครงสำหรับครอบตัวถังขนาดเท่าตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน มีความจุของถังประมาณ 11,000- 26,000 ลิตร ใช้สำหรับบรรจุสินค้าที่เป็นของเหลว รวมทั้งของเหลวที่เป็นอันตราย

ดังนั้นการเลือกใช้ตู้คอนเทนเนอร์แต่ละประเภท จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงประเภทสินค้า ปริมาณและขนาด คุณสมบัติเฉพาะ ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งควรทำประกันการขนส่งสินค้า เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงจากความเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่ง โดยเฉพาะสินค้าที่มีความเปราะบาง สินค้าที่ต้องรักษาอุณหภูมิหรือมีคุณสมบัติเฉพาะทั้งหลาย เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ควรเลือกบริษัทขนส่งที่มีความน่าเชื่อถือและมีมาตรฐาน มีความเป็นมืออาชีพ เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย อย่าง theonecargo บริษัทขนส่งมืออาชีพ ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน พร้อมเดินพิธีผ่านศุลกากรอย่างถูกกฎหมาย ลูกค้าจะได้รับเอกสารการนำเข้าและเอกสารสำหรับลดหย่อนภาษีทุกฉบับโดยเป็นชื่อของลูกค้าทั้งหมด พร้อมจัดส่งสินค้าทั่วประเทศ

อัตราแลกเปลี่ยนวันนี้ ดูยังไง? สำคัญอย่างไร?
อัตราแลกเปลี่ยนวันนี้ เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนอาจดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว อัตราแลกเงินตราระหว่า...
อ่านเพิ่มเติม
cargo china เผย 3 เคล็ดลับนำเข้าสินค้าจากจีน
cargo china เผย 3 เคล็ดลับ นำเข้าสินค้าจากจีน การรับนำเข้าสินค้าจากจีนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทยในปัจจุบัน เนื่องจากจีนเป็น...
อ่านเพิ่มเติม
cargo shipping ผู้ประกอบการต้องรู้ ก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่ง
cargo shipping ผู้ประกอบการต้องรู้ ก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการ Cargo ขนส่ง การนำเข้าส่งออกสินค้าทางเรือ เป็นหนึ่งในวิธีการขนส่งที่ได้รับความน...
อ่านเพิ่มเติม