เครื่องบิน ขนส่ง สินค้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษหากขนส่งทางเครื่องบิน การขนส่งทางเครื่องบิน Air Cargo เป็น การขนส่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีลักษณะการขนส่งที่รวดเร็ว สามารถส่งสินค้าได้หลากหลายประเภท ซึ่งการ นำเข้าสินค้าจากจีน ขนส่งทางเครื่องบินจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Air Courier และ Air Cargo แต่ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงการขนส่งทางเครื่องบินแบบ Air Cargo คืออะไร เหมาะกับ การขนส่งสินค้าแบบไหน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับใครที่ต้องการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ
Air cargo เป็นการขนส่งสินค้าหรือพัสดุโดยใช้เครื่องบินเป็นพาหนะหลัก ซึ่งเป็นวิธีการขนส่งที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สำหรับการนำส่งสินค้า ที่ต้องการให้มีการเคลื่อนย้ายทางอากาศไปยังสถานที่ปลายทาง โดยมีคุณสมบัติดังนี้
อีกทั้ง ยังเป็นการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศแบบ Door to Port หรือการส่งของทางเครื่องบินแบบถึงสนามบินปลายทาง ผ่านสายการบินชั้นนำ เช่น การบินไทย (Thai Airway), Cathay Pacific, Japan Airlines, Emirates Airlines เป็นต้น โดยสามารถเลือกเที่ยวบิน และเลือกสนามบินปลายทางที่ต้องการ หรือ เลือกสนามบินที่ใกล้ที่อยู่ปลายทางได้
ซึ่งการขนส่งทางเครื่องบินแบบถึงสนามบินปลายนั้น ผู้ส่งจำเป็นต้องลงทะเบียนกับกรมศุลกากร และต้องทำใบขนส่งเพื่อเดินพิธีการศุลกากรขาออก เมื่อเตรียมสินค้าพร้อมแล้ว จะต้องนำไปโหลดที่สนามบินต้นทาง
10 ประเภทสินค้า ที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษขนส่งทางเครื่องบิน
1.สินค้าประเภทวัตถุอันตราย
สินค้าประเภทวัตถุอันตราย หมายถึง วัตถุหรือสิ่งของที่โดยคุณสมบัติของมันเอง ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ความปลอดภัย หรือทรัพย์สินได้ การขนส่งทางอากาศ กระทำได้โดยจำกัดปริมาณการบรรจุตามวิธีการบรรจุที่ระบุไว้ในระเบียบปฏิบัติ ว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย ซึ่งการจัดประเภทสินค้าอันตราย ถูกกำหนดจากลักษณะของอันตรายของสารนั้น
2.สินค้าแตกหักง่าย
สินค้าแตกหักง่าย หมายถึง สินค้าที่มีลักษณะบอบบาง เปราะ หรือแตกหักเสียหายง่ายหากเกิดการกระทบ กระแทก ถูกทับ หรือตกในระหว่างที่ทำการขนส่ง ได้แก่ เครื่องแก้วเครื่องปั้นดินเผา เครื่องลายคราม เป็นต้น การขนส่งจะต้องบรรจุในหีบห่อที่แข็งแรง เช่น ลงไม้และควรเป็นหีบห่อใหม่หากเคยใช้แล้วต้องอยู่ในสภาพที่ดีแข็งแรง หีบห่อของสินค้าแตกหักง่าย จะต้องติดป้าย “ของแตกหักง่าย”และป้าย “ตั้งตามลูกศร”
3.สินค้าน้ำหนักมากและสินค้าขนาดใหญ่ (HEA/BIG)
สินค้าหนัก หมายถึง สินค้าที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 150 กิโลกรัมขึ้นไปต่อหนึ่งหีบ
สินค้าขนาด ใหญ่ หมายถึง สินค้าที่มีขนาด กว้าง หรือยาวเกินขนาดของแผ่นบรรทุกสินค้า 88″x125″,96×125″ หรือมีขนาดที่ยากต่อการจัดบรรทุกในเครื่องบิน แบบลำตัวแคบ สินค้าน้ำหนักมากและสินค้าขนาดใหญ่ จะต้องได้รับการยืนยันการทำสำรองระวางบรรทุกก่อนการรับขนส่งทุกครั้ง
4.ศพมนุษย์ (HUM)
การรับขนส่งนพมนุษย์จะต้องมีเอกสาร “ใบมรณะบัตร” ประกอบการขนส่งศพ จะต้องบรรจุอยู่ในโลงที่แข็งแรง และมีที่จับยึดภายนอกคลุมด้วยผ้าใบ ส่วนอัฐิจะต้องใส่ในภาชนะบรรจุที่ไม่แตกง่าย มีวัตถุกันกระแทกและจะต้องมีเอกสาร “ใบฌาปนกิจ”แนบมาด้วย
5.สัตว์มีชีวิต (AVI)
การรับส่งสัตว์มีชีวิต จะต้องเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการขนส่งสัตว์มีชีวิต ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
6.วัตถุที่มีลักษณะเป็นแม่เหล็ก (MAG)
สินค้าแม่เหล็ก หมายถึง สินค้าที่คุณสมบัติสามารถเกิดสนามแม่เหล็ก ซึ่งมีผลต่อระบบนำร่องของเครื่องบิน เช่น เข็มทิศ เรดาร์ โดยหีบห่อของสินค้าแม่เหล็กจะต้องติดป้าย “สินค้าแม่เหล็ก” ด้วย
7.สินค้าของสดหรือที่เสียง่าย (PER)
สินค้าของสดเสียง่าย หมายถึง สินค้าที่ง่ายต่อการเน่าเปื่อยหรือบูดเน่าได้ง่าย เช่นผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ ปลาสด พืช ผักและผลไม้ เป็นต้น การรับขนส่งสินค้าประเภทนี้ จะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า และมีทำสำรองระวางบรรทุกตลอดเส้นทางบินแต่ละหีบห่อของสินค้า ของสดเสียง่ายจะต้องติดป้าย “ของสดเสียง่าย”และป้าย “ตั้งตามลูกศร”
8.สินค้ามีค่า (VAL)
สินค้ามีค่า หมายถึง สินค้าดังต่อไปนี้
การรับสินค้ามีค่า ต้องมีการควบคุมดูแลการขนส่งอย่างรัดกุมปลอดภัยในทุกขั้นตอน และต้องมีการทำสำรองระวางบรรทุกตลอดเส้นทางบิน ไม่ควรมีจุดเปลี่ยน เครื่องหรือถ้ามีก็ให้น้อยที่สุด และหีบห่อของสินค้ามีค่าต้องมั่นคงแข็งแรง
9.สินค้าที่เสี่ยงต่อการสูญหาย (VUN)
สินค้าที่เสี่ยงต่อการสูญหาย หมายถึง สินค้าที่ไม่เข้าข่ายสินค้ามีค่า แต่มีลักษณะและขนาดที่เอื้ออำนวยหรือมีราคาจูงใจให้เกิดการลักขโมยหยิบ ฉวยได้ง่าย ได้แก่ กล้องถ่ายรูป นาฬิกาข้อมือ เครื่องคิดเลข เป็นต้น
10.สินค้าที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ (WET)
สินค้าที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ ต้องมีการบรรจุหีบห่อและการจัดบรรทุกอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกัน น้ำรั่วซึมออกมาทำให้สินค้าอื่นเสียหาย หรือกัดกร่อนอุปกรณ์ บรรทุกสินค้าและห้องบรรทุกสินค้าภายในท้องเครื่องบิน ให้เกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะสินค้าที่มีองค์ประกอบของน้ำเค็ม หรือเป็นน้ำที่ออกมาจากสินค้าประเภทอาหารทะเล หีบห่อของสินค้าประเภทนี้จึงต้องกันน้ำรั่วซึมได้อย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กล่องโฟม